วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

108 สมุนไพรไทย ลดความดันโลหิตสูง

การลดความดันโลหิตสูง เป็นเป้าหมายในการรักษาผู่ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แต้ถ้าเราไม่ป่วยเลยนั่นย่อมจะดีกว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันที่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ฝุ่นควันมลพิษต่าง ๆ ความเครียด การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักณะ หวานจัด เค็มจัด หรือมันจัด การขาดการออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่จะก่อให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ตามมามากมาย โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งสถิติผู้ป่วยโรคนี้เพิ่มขึ้นตลอดเวลา และกลุ่มอายุของผู้ป่วยโรคนี้ก็เริ่มน้อยลง มีการพบว่าคนอายุ 25 ปีก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้แล้ว 

แต่มีคำกล่าวที่ "กินอย่างไร ก็ได้อย่างนั้น" คำกล่าวนี้ถูกต้องทีเดียว โดยเฉพาะประเทศไทยแล้ว อุดมไปด้วยพืชผัก สมุนไพรต่าง ๆ มากมาย ที่จะนำมาประกอบอาหาร หรือกินเป็นยาได้ ถ้าลองศึกษาคนคว้าดูจะรู้ว่ามีพืชผัก สมุนไพรเป็นร้อยเป็นพัน ทีมีสรรพคุณทางยา สามารถรับประทานเพื่อป้องกันและรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคยอดฮิตโรคหนึ่งที่คนไทยเป็นกันมาก เราลองมาดูกันว่ามีพืชผัก สมุนไพรอะไรบ้างที่เราจะนำมารับประทานที่เราจะเรียกว่า " กินอาหารให้เป็นยา ไมใช่กินยาเป็นอาหาร"



ส่วนของพืชผักสมุนไพร - วิธีใช้ เพื่อ ลดความดันโลหิตสูง 

1. กระถินไทย วิธีใช้ นำเมล็ดมาบดเป็นผง หรือคั่วกินเป็นอาหารปกติ ยอดและฝักอ่อนจิ้มน้ำพริกเป็นอาหาร 

2.กระเทียม วิธีใช้ ให้กินกระเทียมสด 5-7 กลีบ/วันเป็นประจำโดยสับให้ละเอียด กินวันละประมาณ 2 ช้อนชา(10กรัม) กินร่วมกับอาหารอื่นๆ 

3. กล้วย ส่วนที่ใช้ ใบกล้วย ผลกล้วยสุก วิธีใช้ นำใบกล้วยตากแห้ง หั่นย่อยมามวนเป็นบุรี่สูบหรือผลกล้วยสุกกินเป็นของว่าง 

4.กะเพรา ส่วนที่ใช้ ใบและยอด วิธีใช้ ใบกะเพรา แห้งป่นเป็นผง ชงกับน้ำดื่ม 

5. กานพลู วิธีใช้ นำดอกมาปรุงเป็นอาหาร เป็นเครื่องเทศปรุงรสอาหาร 

6. กุหลาบ วิธีใช้ นำส่วนดอก กุหลาบมาต้มดื่ม ตอนเช้า 

7. เก็กฮวย วิธีใช้ นำดอกเก็กฮวย 1 หยิบมือ มาต้มน้ำ 3 แก้ว ใช้ดื่มแทนน้ำตลอดวัน 

8. โกโก้ วิธีใช้ นำเม็ดโกโก้ ที่คั่วแห้งมาเป็นเครื่องดื่มยามว่างหรือทำเป็นช็อคโกแลต ผสมอาหาร 

9. ข้าว ส่วนที่ใช้ เมล็ดข้าว วิธีใช้ นำเมล็ดข้าวมาป่นคั่วแห้ง ชง น้ำดื่มเช้า-เย็น 

10. ขิง วิธีใช้ ใช้ขิงสดเอามาฝาน ต้มกับน้ำหรือผงแห้งชงกับน้ำดื่ม 

11.ขี้เหล็ก ส่วนที่ ดอกและใบ วิธีใช้ ดอกสด 1 กำมือ(ต้มน้ำ 3ถ้วย นาน 
15 นาที นำมาดื่ม เช้า-เย็น 

12. คึ่นไฉ่ ส่วนที่ใช้ ต้น ใบ ราก วิธีใช้ ตำรายาพื้นบ้าน ให้ใช้โดยเอามาต้นสดคั้นเพาะน้ำ หรือกินทั้งต้น พร้อมอาหาร หรือใช้ใบและต้นสดขนาด 1-2 กำมือ ตำให้ละเอียด ต้มน้ำดื่มครั้งละ 1- 2ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้งก่อนอาหาร 

13. งา วิธีใช้ นำเมล็ดงา มาปั่นกับน้ำเต้าหู้ ดื่มทุกเช้า หรือผสมเมล็ดงาคั่วในขนมต่างๆ 

14. จำปา วิธีใช้ นำดอกจำปา มาต้มน้ำดื่มตอนเช้า 

15. ชา วิธีใช้ ใบแห้ง 1 หยิบมือ ชงน้ำร้อน 1-2 แก้ว ทิ้งไว้ 5- 10 นาที นำมาจิบบ่อยๆดื่มต่างน้ำ 

16.เดือย วิธีใช้ นำลูกเดือยมาต้มเป็นของว่าง

17. ตะไคร้ ส่วนที่ใช้ ต้นแก่ (ตัดใบทิ้ง)หรือ เหง้าแก่ มีน้ำมันหอมระเหยปริมาณสูง ตำรายาไทยให้เป็นยา ขับปัสสาวะ น้ำสกัดต้นมีฤทธิ์ ลดความดันโลหิตได้ ขับปัสสาวะอย่างอ่อนและลดการอักเสบ 

ขนาดและ วิธีใช้ 

ต้นสด วันละ 1 กำมือ หรือหนัก 40-60 กรัม ต้มกับน้ำ 3-4 ถ้วย แบ่งดื่ม วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา (7.5 มิลลิลิตร ) ก่อนอาหาร 
เหง้า ฝานเป็นแวนบางๆ คั่วไฟอ่อนพอเหลือง ครั้งละ 1 หยิบมือ ชงกับน้ำ
1 ถ้วยชา รินเฉพาะส่วนใส ดื่มจนหมด วันละ 3 ครั้ง เมื่อปัสสาวะคล่องให้หยุดยา 

18. ถั่วดำ วิธีใช้ นำเมล็ดถั่วดำ มาต้มน้ำดื่ม หรือกินเมล็ดด้วย เช้า -เย็น 

19. ถัวเหลือง วิธีและปริมาณที่ใช้ เมล็ด ถั่วเหลืองแห้ง 30-90 กรัม ต้มน้ำดื่มหรือบดเป็นผง กิน เปลือกเมล็ดแห้ง 10-15 กรัม ต้มน้ำกิน 

20. ทับทิม ส่วนที่ใช้ น้ำจากผลทับทิม (เยื้อหุ้มเมล็ด) วิธีใช้ นำน้ำทับทิมที่คั้นจากผลทับทิมได้มาดื่มวันละ 50 ซีซี

21. ทานตะวัน วิธีใช้ นำน้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน มาใช้ปรุงอาหาร หรือ ใช้เมล็ดทานตะวันคั่วแห้งกินเป็นของว่าง 

22. บัวบก ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น วิธีใช้ ใช้ทั้งต้นสด 30- 40กรัม คั้นน้ำจากต้นสด เติมน้ำตาลเล็กน้อย 

23. ผักกาดหอม วิธีใช้ นำใบผักกาดหอมมากินเป็นอาหาร

24. ผักชีฝรั่ง ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น /เมล็ด วิธีใช้ นำต้นผักชีฝรั่ง 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม หรือนำเมล็ดผักชีฝรั่งมาบดเป็นผงชงน้ำร้อนดื่มตอนเช้าๆ 

25.พริกไทยดำ วิธีใช้ ใช้เมล็ดพริกไทยดำมาปรุงอาหาร 

26. พริกหยวก ส่วนที่ใช้ ผล /ใบ วิธีใช้ นำผลพริกหยวก มาผัดปรุงรสอาหาร หรือนำใบ 1 กำมือมาต้มดื่ม 

27. พลูคาว วิธีใช้นำใบ ต้นพลูคาว 7 ใบมาคั้นน้ำดื่ม เช้า-เย็น 

28. ฟักทอง วิธีใช้ นำเมล็ดฟักทอง มากินเป็นของว่าง 

29. มะกรูด วิธีใช้ นำใบมะกรูด 7-10 ใบ นำมาต้มน้ำดื่ม เช้า -เย็น

30. มะเฟือง วิธีใช้ ผลนำมาคั้นน้ำดื่ม 1-2 ผล เช้า-เย็น 

31. มะไฟ วิธีใช้ นำผลมะไฟ มากิน เช้า-เย็น 

32. มะละกอ วิธีใช้ นำผลสุกมากินเป็นอาหาร หรือนำผลดิบ 1 ผล/น้ำ 1 ลิตร ต้มน้ำดื่มแทนน้ำ 

33. มะลิ วิธีใช้ นำดอก /ใบ 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เช้า -เย็น 

34. มันฝรั่ง วิธีใช้นำหัวมันฝรั่ง มาปรุงเป็นอาหาร 

35. ยอบ้าน วิธีใช้ นำผลโตเต็มที่ไม่สุก มาคั้นน้ำดื่ม ผสมเกลือและมะนาว เพื่อเพิ่มรส ดื่มเช้า-เย็น 

36. สะระแหน่ วิธีใช้ นำใบสะระแหน่ 1 กำมือมาปั่นหรือต้มน้ำดื่มตอนเช้า-เย็น

37. หอมใหญ่ วิธีใช้ หัวหอมใหญ่ เป็นเครื่องเทศที่เผ็ดร้อนใช้แต่งกลิ่นอาหารได้หลายชนิด 

38. โหระพา วิธีใช้ นำทั้งใบต้น 1กำมือต้มน้ำดื่มหรือนำใบมาปรุงเป็นอาหาร 

39. องุ่น วิธีใช้ ผล จำนวนพอควรคั้นน้ำเป็นเครื่องดื่ม 

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เคล็ดลับทำซุปผักสูตรบ้าน ๆ ต้านอนุมูลอิสระ

สำหรับบทความนี้ผู้เขียนขออนุญาติแนะนำสูตรอาหารเพื่อสุขภาพง่าย ๆ แบบบ้าน ๆ แต่คุณค่าทางอาหารมากมายทีเดียว ซึ่งซุปผักสูตรบ้าน ๆ ต้านอนุมูลอิสระสูตรนี้ใคร ๆ ก็ทำได้ เพียงแค่มีเครื่องปั่นน้ำผลไม้ และพืชผักที่หาได้ง่าย ๆ แถวบ้าน หรือท้องตลาดทั่วไป แต่ขอบอกก่อนนะ ผู้เขียนไม่ชอบฟิกว่าต้องใส่อะไรเท่าไหร่แบบต้องแเป๊ะ ๆ มันดูยากไป เอาแบบอาจารย์ยิ่งศักดิ์เลย อยากใส่เท่าไหร่ก็กะประมาณเอง  มาดูส่วนประกอบกัน



ส่วนประกอบ

นมรสจืด
เกลือ 
พริกไทยดำ
ผักหวาน เด็ดเอาเฉพาะใบ
ฝักทองต้มสุก
มะเขือเทศ หั่นเป็นแว่น
ใบสะระแหน่

สำหรับวิธีทำ นำนมสดรสจืดพอประมาณเทใส่ในเครื่องปั่น แล้วตามด้วยผักหวานที่เด็ดเอาเฉพาะใบ มะเขือเทศที่หั่นเป็นแว่น ฝักทองต้มสุก และใบสะระแหน่ แล้วปั่นทั้งหมดให้เข้ากัน เมื่อส่วนประกอบเข้ากันแล้วก็ปิดเครื่อง จากนั้นก็เติมเกลือประมาณครึ่งช้อนชา และพริกไทยดำประมาณ7-10 เม็ด อาจจะโขลกให้พอแตกก่อนก็ได้ จากนั้นก็ปั่นเบา ๆ อีกครั้ง เสร็จแล้วก็เทใส่ชาม สามารถรับประทานได้ทันที หรือนำไปแช่ตู้เย็นประมาณ 10-15นาที แล้วนำมารับประทานก็จะให้รสชาดอร่อยแปลก ๆ ไม่แพ้พวกซุปของฝรั่งเลยทีเดียว ซึ่งจะมีรสชาดเค็มมันจากนม และเกลือ เผ็ดร้อนนิดหน่อยจากพริกไทยดำ รสหวานจากผักหวาน และหอมรสมิ้นต์จากใบสะระแหน่ ซึ่งนอกจากรสชาดที่อร่อยแล้ว ยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการจากผักแต่ละชนิด ซึ่งให้ทั้งกากใย สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน เกลือแร่ต่าง ๆ มากมายที่ช่วยให้สุขภาพแข็งแรง ช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ และช่วยชลอความแก่ ซึ่งตรงนี้เองใคร ๆ ก็ชอบ แม้แต่ผู้เขียนเอง

คุณค่าทางโภชนาการ และสรรพคุณทางยา

มะเขือเทศ ในผลมะเขือเทศมีสารจำพวก แคโรทีนอยด์ ชื่อไลโคพีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสารสีแดง และวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินเค โดยเฉพาะวิตามินเอ และวิตามินซี มีในปริมาณสูง มีกลดมาลิค กรดซิตริก ซึ่งให้รสเปรี้ยว และมีกลูตามิค (Glutamic) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารบีตา-แคโรทีน และแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เป็นต้น

ฟักทอง มีกากใยสูง อุดมด้วยวิตามินเอและสารต่อต้านการผสมกับออกซิเจนกับเกลือแร่ และมี “กรดโปรไพโอนิค” กรดนี้ทำให้ทำให้เซลล์มะเร็งให้อ่อนแอลง[6] ในเนื้อฟักทองมีสารเบต้าแคโรทีน

สะระแหน่ สามารถนำไปทำเป็นยาปฏิชีวนะและยังใช้เป็นตัวขับไล่อนุมูลอิสระออกจากร่างกาย อีกทั้งยังใช้เป็นยาเย็นและใช้เป็นยาคลายความเครียด และมีงานวิจัยอย่างน้อยชิ้นหนึ่งระบุว่ามันช่วยคลายความกดดันของกล้ามเนื้ออันมาจากความเหนื่อยล้าและความเครียด สะระแหน่ยังใช้ไปทำน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในการทำสุคนธบำบัด อีกทั้งยังใช้เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์

ผักหวาน ผักหวานเป็นผัก ที่ใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด และยังเป็นพืชสมุนไพร มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นแหล่งของโปรตีน วิตามินซี (vitamin C) เบต้าแคโรทีนซึ่งช่วยในการมองเห็น บำรุงสายตา และมีสรรพคุณเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) มี แคลเซียม และ ฟอสฟอรัสสูง ช่วย บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงและ ใยอาหาร ช่วยในการขับถ่าย

พริกไทยดำ  มีสรรพคุณใช้เป็นยาช่วยย่อยอาหาร ย่อยพิษตกค้างที่ไม่สามารถย่อยได้ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด แก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ลมอัมพฤกษ์และระดูขาว ในเมล็ดพริกไทยมีสารไปเปอรีน และสารฟินอลิกส์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็ง มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท และแก้โรคลมชักหรือลมบ้าหมูได้

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เชื้อราที่เล็บ พลู สมุนไพรไทยช่วยได้

เล็บมือ และเล็บเท้าแม้จะเป็นส่วนเล็ก ๆ ของร่างกาย แต่ก็มีความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว เล็บมือ และเล็บเท้าที่สวยและดูมีสุขภาพย่อมช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดีให้แก่ผู้นั้น สามารถเปิดเผยเล็บมือและเล็บเท้าได้อย่างมั่นใจ ไม่ต้องปกปิดซ่อนเร้นเหมือนกับหลาย ๆ คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับเล็บมือ และเล็บเท้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเชื้อราที่เล็บมือ และเล็บเท้า ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อยที่เจอปัญหานี้ โดยเฉพาะแม่บ้านที่ต้องทำงานบ้านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการซักผ้า ล้างจาน ล้างห้องน้ำ ซึ่งเล็บมือและเล็บเท้าต้องเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา และเมื่อนานวันเข้าก็จะก่อให้เกิดแบคทีเรียสะสมจนเกิดเป็นเชื้อราที่เล็บมือ และเล็บเท้า เชื้อราที่เกิดที่เล็บมือและเล็บเท้า โดยทั่วไปจะสังเกตุเห็นเป็นจุดเหลือง ๆ เล็ก ๆ ที่มุมเล็บมือหรือเล็บเท้าด้านใดด้านหนึ่งก่อน แล้วจะขยายลุกลามกว้างออกไปเรื่อย ๆ โดยที่ช่องว่างระหว่างเนื้อและเล็บก็จะถ่างออกเรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้แบคทีเรียเข้าไปสะสมมากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าไม่รีบรักษาอาจจะสูญเสียเล็บโดยถาวรไปเลยก็ได้

แต่เชื่อหรือไม่ว่าเราสามารถใช้สมุนไพรไทยที่หาได้ง่าย ๆ โดยทั่วไปอย่าง "พลู" ที่ใช้กินกับหมากนี่แหละสามารถใช้รักษาโรคเชื้อราที่เล็บมือและเล็บเท้าได้ชงัดทีเดียว เพราะในใบพลูมีสารยูจีนอลและชาวิคอลซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดเชื้อราที่เล็บมือและเล็บเท้า โดยวิธีใช้ก็คือ ให้นำใบพลูมาตำให้แหลกแล้วนำมาพอกที่เล็บมือและเล็บเท้าที่มีปัญหา แล้วใช้ผ้าพันเอาไว้ป้องกันเลอะเทอะและหลุดออก แนะนำให้พอกก่อนเข้านอนเพราะเป็นช่วงที่ไม่ได้ใช้มือหรือเท้าทำกิจกรรมอะไรอีกจะได้ผลดีกว่า

นี่ล่ะคุณประโยชน์ของสมุนไพรไทยที่หาได้ง่าย ๆ โดยทั่วไป และเรามองข้ามไป ท่านที่กำลังประสบปัญหาเชื้อราที่เล็บมือหรือเล็บเท้าอยู่ลองนำวิธีที่เรียบง่ายนี้ไปใช้ดูเพื่อจะได้เปิดเผยเล็บมือและเล็บเท้าที่สวย และสุขภาพดีได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง