วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผลไม้ไทย 10 อันดับแรกที่มีสารต้านมะเร็งสูง

กรมอนามัยวิจัย 10 ผลไม้ไทย มีสารต้านมะเร็งสูง
นางนัทยา จงใจเทศ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการทำวิจัย “องค์ความรู้เรื่องปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในผลไม้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ (วิตามินซี วิตามินอี และ เบต้าแคโรทีน) ในผลไม้” ที่ทำการศึกษาในผลไม้ 83 ชนิด พบว่า

ผลไม้ 10 อันดับแรกที่มีเบต้าแคโรทีนสูงคือ

1. มะม่วงน้ำดอกไม้สุก
2. มะเขือเทศราชินี
3. มะละกอสุก
4. กล้วยไข่
5. มะม่วงยายกล่ำ
6. มะปรางหวาน
7. แคนตาลูปเนื้อเหลือง
8. มะยงชิด
9. มะม่วงเขียวเสวยสุก
10. สับปะรดภูเก็ต
ผลไม้ทั้งหมดนี้มีเนื้อสีเหลืองและสีเหลืองเข้ม


ส่วนผลไม้ที่ไม่มีเบต้าแคโรทีนเลย

1. แก้วมังกร
2. มะขามเทศ
3. มังคุด
4. ลิ้นจี่
5. สาลี่

10 อันดับแรกของผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงคือ

1. ฝรั่งกลมสาลี่
2. ฝรั่งไร้เมล็ด
3. มะขามป้อม
4. มะขามเทศ
5. เงาะโรงเรียน
6. ลูกพลับ
7. สตรอเบอร์รี่
8. มะละกอสุก
9. ส้มโอขาว
10. แตงกวา
11. พุทราแอปเปิล

การศึกษานี้พบผลไม้ที่มีวิตามินอีสูง 10 อันดับแรกคือ

1. ขนุนหนัง
2. มะขามเทศ
3. มะม่วงเขียวเสวยดิบ
4. มะเขือเทศราชินี
5. มะม่วงเขียวเสวยสุก
6. มะม่วงน้ำดอกไม้สุก
7. มะม่วงยายกล่ำสุก
8. แก้วมังกรเนื้อสีชมพู
9. สตรอเบอร์รี่
10. กล้วยไข่

ผลไม้ที่มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินอีน้อยทั้ง 3 ตัว คือ สาลี่ องุ่น และแอปเปิล
ส่วนผลไม้ที่มีสารทั้ง 3 ตัว ค่อนข้างสูงคือ มะเขือเทศราชินี

ทั้งนี้ เบต้าแคโรทีน วิตามินซีและอี เป็นกลุ่มของสารอาหารที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่ก่อให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ทำลายเนื้อเยื่อ เกิดต้อกระจกในผู้สูงอายุ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด สารทั้ง 3 ตัว โดยเฉพาะ เบต้าแคโรทีนจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ ป้องกันเนื้องอก ลดความเสี่ยงการเป็นต้อกระจก มะเร็งและหัวใจได้ จึงควรรับประทานผลไม้ในปริมาณมากพอสมควรทุกวัน หรืออย่างน้อยวันละ 4 ส่วนของอาหารที่รับประทาน เพื่อสุขภาพที่ดี

ขอขอบคุณ : ข้อมูลจากลิซ่า


วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ต้านหวัด 2009 ด้วยการกินผัก ผลไม้

กรมอนามัยแนะทานผักสดและผล ไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง มะละกอ ส้ม เงาะ มะม่วง ลิ้นจี่ ตำลึง คะน้า กะหล่ำปลี ช่วยต้านหวัด 2009

นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงการกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ 2009 ว่า ในช่วงระยะของการเกิดโรคระบาดในขณะนี้ นอกจากจะเน้นการกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ โดยกินอาหารทันทีหลังจากปรุงอาหารให้สุกด้วยความร้อนแล้ว ควรใช้ช้อนกลางทุกครั้งและทุกมื้ออาหาร ซึ่งจะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่จะติดต่อระหว่างคนสู่คนผ่านทางระบบ ทางเดินหายใจและเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย

การล้างมือก่อนการบริโภคอาหารและหลังการขับถ่าย จะช่วยลดอัตราการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่อาจแพร่เข้าสู่ร่างกาย ทั้งที่เกิดจากการสัมผัสทางผิวหรือทางปาก โดยผ่านการหยิบจับอาหารด้วยมือเปล่า และสวมหน้ากากอนามัยปิดปาก จมูก ทุกครั้งที่ไอ จาม รวมทั้งมีการทิ้งขยะประเภททิชชูที่ใช้เช็ดน้ำมูกลงในขยะแบบปิด 

นอกจากนี้ การกินอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และหลากหลาย โดยเน้นผักสดและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง มะละกอ ส้ม เงาะ มะม่วง ลิ้นจี่ ตำลึง คะน้า กะหล่ำปลี ก็จะเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายด้วย ทั้ง นี้ควรดื่มน้ำสะอาดประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน และออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน วันละ 30 นาที นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชนหรือสถานที่แออัด และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กินหอมแดงเป็นประจำป้องกันโรคหัวใจได้

หอมแดงเป็นพืชขนาดเล็กลำต้นเหนือใต้ดินสูง 15-50 ซม. มีกาบใบซึ่งมีลักษณะพอง สะสมอาหารเป็นกระเปาะคล้ายหัว สีแดงถึงสีน้ำตาลเหลือง ขยี้กลิ่นฉุนและระคายเคืองตา ทำให้น้ำตาลไหล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-4 ซม. ใบเสียเขียวเป็นเส้นกลมภายในกลวง ปลายเรียวแหลม ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกก็เป็นคล้ายใบ ยาวประมาณ 20-30 ซม. ดอกย่อยมีจำนวนมาก สีขาวออกม่วง ๆ มี 6 กลีบ มีเกสรตัวผู้หกอัน ผลอยู่รวมกันเป็นกระจุกกลม เมล็ดสีดำ 
 
สรรพคุณทางยา : หัวหอม มีรสฉุน ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ช่วยย่อยและเจริญอาหาร แก้บวมน้ำ แก้อาการอักเสบต่าง ๆ ขับพยาธิ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น เมล็ด แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้กินเนื้อสัตว์เป็นพิษ ร่างกายซุบผอม (ใช้เมล็ดแห้ง 5-10 กรัมต้มน้ำดื่ม) ตำรายาไทยใช้หัวหอมแดง ผสมรวมกับเหง้าเปราะหอมสุมหัวเด็ก แก้หวัดคัดจมูก และกินเป็นยาขับลม หอมแดงมีสารเคอร์ซิติน และสารฟลาโวนอยด์ (quercetin และ flavonoid glycosides) อาจป้องกันโรคมะเร็งได้


นอกจากนี้ หอมแดงยังมีคุณสมบัติ เป็นยารักษาโรค ใช้ลดไข้และรักษาแผลได้ โดยเอาหัวหอมแดงมาซอยเป็นแว่นๆ ผสมกับน้ำมันมะพร้าวและเกลือ ต้มให้เดือด แล้วนำมาพอกแผล นอกจากนั้นหอมแดง ยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งเส้นเลือดอุดตัน ด้วยการบริโภคสด หรือประกอบอาหาร หรือบริโภคชนิดผง


นักวิจัยมหาวิทยาลัยในฮ่องกง พบประโยชน์ของหอมแดง ซึ่งเป็นเครื่องปรุงอาหาร ทั้งในเอเชีย และเมดิเตอร์เรเนียนว่า ช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ โดยช่วยกำจัดไขมันเลว ซึ่งเป็นตัวการทำให้หัวใจวายและอัมพฤกษ์ อัมพาตออกจากร่างกาย และรักษาไขมันดีไว้ เป็นการป้องกันโรคหัวใจ


หัวหน้าคณะนักวิจัย เชิน ยู เชน กล่าวว่า “แม้ว่าจะมีการวิจัยหัวหอมอย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังคงไม่รู้ว่ามันเกี่ยวข้องกับยีนของมนุษย์ และมีบทบาทเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารในร่างกายอย่างไร การศึกษาครั้งนี้นับเป็นการศึกษาความเกี่ยวพันของหอมแดงกับหน้าที่ทาง ชีววิทยาหนแรก”


นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา โดยการป้อนหนูที่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารที่มีคอเลสเทอรอลสูง แล้วให้กินหอมแดงที่ทุบแล้ว พบว่าหลังจากทำมา 2 เดือน ระดับคอเลสเทอรอลเลวลดลงโดยเฉพาะร้อยละ 20 โดยที่ระดับคอเลสเทอรอลดีไม่เปลี่ยนแปลง

หัวหน้านักวิจัยกล่าวในที่สุดว่า “ผลของการศึกษาได้สนับสนุนข้ออ้างที่ว่า การกินหัวหอมประจำจะช่วยลดอันตรายของโรคหัวใจชนิดเส้นเลือดมาเลี้ยงหัวใจอุดตันได้”


ขอขอบคุณ : ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ข้อมูลภาพจากอินเตอร์เน็ต

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เครื่องดื่มสมุนไพร สูตรขับลม

หลาย ๆ คนอาจจะเคยเจอ หรือกำลังเจอกับปัญหาท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง เนื่องจากมีกรดเกินในกระเพาะอาหาร และแน่นอนว่าอาการต่าง ๆ เหล่านี้สามารถบั่นทอนสุขภาพจิต และสุขภาพกายของเราได้ไม่น้อยเหมือนกัน ซึ่งมันก่อให้เกิดอาการหงุดหงิด น่ารำคาญ รู้สึกไม่สบายตัวอยู่ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตามธรรมชาติก็ได้แก้ทางให้เราเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมุนไพรอย่างขิง และลูกพีชหรือลูกท้อที่สามารถขับลม ซึ่งเป็นตัวการทำท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง มีลมเรอ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยต้านหวัดอีกด้วย ซึ่งในบทความนี้มีสูตรเครื่องดื่มสมุนไพรจากขิง และลูกพีชที่ช่วยในการขับลมมาฝากกันด้วย ซึ่งมีส่วนผสมและวิธีทำดังต่อไปนี้

ลูกพีชหรือลูกท้อ อุดมไปด้วยวิตามินซี กรดโฟลิก เบตาแคโรทีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งมักรวมตัวกันมากที่บริเวณเปลือกของผลลูกพีช สารอาหารดังกล่าวช่วยทำความสะอาดลำไส้เล็กและใหญ่ ก่อนการนำไปรับประทานจะต้องคว้านเอาเมล็ดออก

ขิง เปี่ยมไปด้วยวิตามินเอ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม มีฤทธิ์อุ่น สามารถขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้หวัด แก้ไข และขับเสมหะ โดยนิยมใช้ขิงแก่(อายุ11-12เดือนจะดีที่สุด)มากกว่าขิงอ่อน เนื่องจากมีเส้นใยอาหารมากกว่า

น้ำแร่ ถือเป็นน้ำที่สะอาด ไม่มีการปนเปื้อนหรือปรุงแต่งสารเคมี จึงไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

ส่วนผสม

•ลูกพีช 1 ถ้วย
•ขิง 1 แง่งเล็ก
•น้ำแร่ 1 ถ้วย
•น้ำแข็งป่น 1 ถ้วย


วิธีทำ

หั่นลูกพีชพอหยาบ ขิงทุบรากพอแตกแล้วจึงหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นนำส่วนผสมทั้งสองชนิดไปสกัดเอาแต่น้ำด้วยเครื่องสกัดน้ำผักและผลไม้ แล้วผสมน้ำแร่ เติมน้ำแข็งป่น ดื่มได้ทันที

แค่นี้เราก็ได้เครื่องดื่มสมุนไพรเอาไว้บรรเทาอาการอันไม่พึงประสงค์ดังกล่าวได้แล้ว แถมยังมีรสชาดหอมอร่อยอีกด้วย อีกทั้งในขิงก็มีเอนไซม์ที่ช่วยในเรื่องการย่อยสูงมาก ๆ ก็ยิ่งได้ประโยชน์กันไปใหญ่

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เมนูเพื่อสุขภาพ ยำผักหวานบ้าน

ผักหวานบ้าน เป็นผักพื้นบ้านที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มากมาย ได้แก่โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และแร่ธาตุต่าง ๆที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินซี มีสารเบต้า-แคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัสเพื่อช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง และแมกนีเซียมช่วยในการยืดหดของกล้ามเนื้อ

ประโยชน์ด้านอื่นๆของผักหวานบ้าน นอกจากนำไปประกอบอาหารแล้วผักหวานบ้านยังมีสรรพคุณด้านยาหลายประการ เช่น ในตำราสรรพคุณสมุนไพร ระบุว่า

ราก : เป็นยาถอนพิษร้อน  พิษไข้ พิษทราง ถอนพิษสำแดง กินของแสลงเป็นพิษ แก้ขัดเบา แก้ไอ  แก้คางทูม คอพอก แผลฝี

ใบ : ปรุงเป็นยาเขียวกระทุ้งพิษ เป็นยาประสะน้ำนม ช่วยมดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น แก้แผลฝี 

ดอก  :   ใช้ขับโลหิต

ส่วนของผักหวานบ้านที่นำมาใช้ประกอบอาหาร ก็คือ ใบและยอดอ่อน ซึ่งมีรสชาดหวานอร่อย สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น แกงเลียง หรือแกงจืด นอกจากนั้นยังนำไปผัด เช่น ผัดน้ำมันหอย  และยำ เป็นต้น  ซึ่งในบทความนี้จะขอแนะนำเมนูเพื่อสุขภาพจากผักหวานบ้านสักหนึ่งเมนู นั่นคือ "ยำผักหวานบ้าน"นั่นเอง

ยำผักหวานบ้าน
 
ส่วนผสม            
     
      ผักหวานบ้าน   2   กำ (รุดเอาแต่ใบ)      
      แครอทไสเป็นฝอยๆ      
      หัวหอมซอยละเอียด 4 หัว      
      โปรตีนเกษตรคั่วกรอบ      
      กุ้งชีแฮ้ลวก      
      เห็ดฟางลวกหั่นบางๆ      
      น้ำมะนาว      
      น้ำปลา      
      น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี      
      พริกขี้หนูทุบและสับละเอียด    


วิธีทำ

นำผักหวานที่รูดเอาแต่ใบไว้ลวกน้ำเดือดที่ผสมเกลือป่นเล็กน้อย รีบตักขึ้นและแช่น้ำเย็นจัด กรองเอา ผักออกแล้วพักไว้
นำเห็ดฟางลวกวิธีเดียวกับผักหวาน
ปรุงน้ำยำด้วยมะนาว น้ำปลา น้ำตาลทราย และพริกขี้หนู
นำผักหวานและเห็ดฟางที่ลวกแล้ว แครอท หัวหอม ราดด้วยน้ำยำ คลุกให้เข้ากัน
โรยหน้าด้วยกุ้งลวก โปรตีนเกษตรคั่ว จัดเสิร์ฟในภาชนะที่สวยงาม

และนี้ก็คือเมนูเพื่อสุขภาพจากผักหวานบ้านที่สามารถทำเองได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ซึ่งนอกจากรสชาดที่อร่อยแล้วยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการมากมายอีกด้วย

ขอขอบคุณ :ข้อมูลภาพจากอินเตอร์เน็ต

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มะแว้งเครือ ลดไข้ แก้ไอ ละลายเสมหะ

ถ้าคนไทยเราได้ศึกษาหรือเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องสมุนไพรไทยให้มากขึ้นก็น่าจะเป็นเรื่องดี เพราะประเทศไทยของเรามีสมุนไพรอยู่มากมาย และหลากหลายซึ่งมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยในการบำบัดและรักษาอาการป่วยต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถลดการพึ่งพายาแผนปัจจุบันซึ่งก็ไม่เป็นผลดีต่อร่างกายของเรานัก ถ้าเราต้องใช้ยาบ่อย ๆ และต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการซื้อยาในราคาที่ค่อนข้างสูง ตัวอย่างเช่น อาการป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างไข้หวัด อาการไอ มีเสมหะ เราก็สามารถใช้สมุนไพรพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปอย่าง "มะแว้งครือ"มาบรรเทาอาการป่วยได้

ซึ่งในบทความนี้จะขอแนะนำสมุนไพรที่สามารถช่วยลดไข้ แก้ไอ และละลายเสมหะได้เป็นอย่างดี และเป็นสมุนไพรที่หาได้ง่าย ๆ มีอยู่ทั่วไป นั่นคือ "มะแว้งครือ"นั่นเอง


มะแว้งเครือ มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Solanum trilobatum Linn.

ลักษณะพืช  : เป็นพรรณไม้เถา ขนาดล็ก ลักษณะของลำต้นเป็นเถา มีสีเขียว ลำต้นมี
                 แหลมคม ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ดอกเป็นช่อๆหนึ่งมีดอกอยู่
                 ประมาณ 5-12 ดอก มีสีม่วงอมชมพู  ผลมีลักษณะกลม ผิวเรียบเกลี้ยง
                 ขนาดเล็กกว่าผลของมะเขือพวง ผลอ่อนมีลายเป็นสีขาวๆ เมื่อแก่หรือสุก
                 จะเปลี่ยนเป้นสีแดงสด มีรสขม


สรรพคุณยาไทย:ผลใช้ทั้งผลดิบและผลสุกละลายเสมหะ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว ลดไข้
                   ขับปัสสาวะ บำรุงน้ำดี


ส่วนที่ใช้เป็นยา/วิธีใช้  :ใช้ผลสดใช้แก้ไอ ขับเสมหะ โดยใช้ขนาด 4-10 ผล โขลกพอแหลก คั้น
                           เอาน้ำใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ หรือเคี้ยวเกินเฉพาะน้ำจนหมดรส


ข้อมูลบางส่วนจาก :หมอชาวบ้าน

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ดอกชมจันทร์ สวยด้วย กินได้

ดอกชมจันทร์หรือดอกพระจันทร์ (Moonflower) เป็นดอกไม้ของไม้เลื้อยที่ถูกจัดไว้ในวงศ์ Convolvulaceae สกุล Ipomoea มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea alba L. ถิ่นกำเนิดของ “ชมจันทร์” อยู่ในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ต่อมาถูกนำไปปลูกแพร่หลายทั้งพื้นที่เขตร้อนและเขตอบอุ่นของสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเอเชีย

พืชสกุลนี้มีหลายร้อยชนิด บางชนิดปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น มอร์นิ่งกลอรี่ (Morning glory) บางชนิดปลูกเป็นทั้งไม้ประดับและใช้เป็นอาหาร เช่น ดอกตูมของต้นชมจันทร์ ต้นชมจันทร์เป็นไม้เลื้อยที่มีอายุหลายปี (ปลูกเขตร้อน) แต่ถ้าปลูกเขตที่อากาศค่อนข้างหนาวมีการปลูกเป็นไม้ประดับปีต่อปี ความสูงของต้นชมจันทร์ขึ้นอยู่กับค้างที่ทำให้ยึดเกาะ ลักษณะต้นและใบคล้ายกันกับต้นมอร์นิ่งกลอรี คือมีใบเป็นรูปหัวใจสีเขียวเข้ม

ชมจันทร์ออกดอกบริเวณซอกก้านใบ ความยาวของดอกตูมประมาณ ๑๐-๑๕ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกบานประมาณ  ๑๑-๑๔ เซนติเมตร ดอกมีสีขาวและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบดอกทั้ง ๕ กลีบเชื่อมติดกัน ดอกจะบานตั้งแต่ช่วงเย็นจนถึงกลางคืน และจะหุบในตอนเช้า ผลของต้นชมจันทร์มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูมขนาดเล็ก มีเมล็ดอยู่ภายใน ๒-๔ เมล็ด ใช้สำหรับการขยายพันธุ์

ไม่เป็นที่ทราบอย่างชัดเจนว่า ประเทศไทยเริ่มมีการเพาะปลูกต้นชมจันทร์ตั้งแต่ครั้งใด โดยพบว่ามีปลูกบางพื้นที่ของภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการนำดอกตูมมากินเป็นอาหาร นอกจากนี้ มีการนำดอกตูมจำหน่ายในร้านผักปลอดสารพิษที่จังหวัดอุดรธานี โดยจำหน่ายร่วมกับผักปลอดสารพิษอื่นๆ เช่น ผักหวานบ้าน และเรียกดอกชมจันทร์ว่า ดอกไม้จีน ซึ่งโดยความจริงแล้วเป็นพืชคนละชนิดกันเลย

ปัจจุบัน ดอกชมจันทร์ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น สถานีวิจัยลำตะคอง (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย) อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ได้ทำการทดลองปลูกต้นชมจันทร์ โดยได้นำเมล็ดพันธุ์มาจากแหล่งต่างๆ เพื่อพิจารณาถึงความแตกต่างหรือความแปรปรวนของสายพันธุ์ที่อาจจะมีอยู่บ้าง และจะทำการทดลองผสมพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

การกินดอกชมจันทร์ จะกินในลักษณะที่เหมือนการกินผัก เนื่องจากมีรสชาติหวานเล็กน้อย เช่น นำมาผัดกับน้ำมันหอย นำมาลวกสำหรับทำยำ หรือจิ้มกับน้ำพริก และยังสามารถใช้ประกอบอาหารอื่นๆ ได้ตามความเหมาะสม แต่ยังไม่มีรายงานว่ามีการกินดอกสด

ดอกชมจันทร์มีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ บางคน (ถ้ากินมาก) อาจมีอาการคล้ายท้องเสียได้
สถานีวิจัยลำตะคองได้ส่งตัวอย่างดอกชมจันทร์ไปวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ ที่สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และที่ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งมีรายงานคุณค่าทางโภชนการดังแสดงในตารางที่ ๑

ตารางที่ ๑. คุณค่าทางโภชนาการในแง่องค์ประกอบหลักของดอกชมจันทร์

รายการ    สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร    คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
น้ำ (%)    ๙๐.๙๘    ๙๐.๙๔
คาร์โบไฮเดรต (%)    ๓.๘๔    ๕.๕๓
โปรตีน (%)    ๒.๔๗    ๑.๘๗
ไขมัน (%)    ๐.๖๐    ๐.๑๔
เส้นใย (%)    ๑.๐๘    ๐.๙๔
เถ้า (%)    ๑.๐๓    ๐.๕๘

นอกจากนี้ยังมีผลการวิเคราะห์ค่าพลังงาน แร่ธาตุและวิตามินต่างๆ โดยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารดังแสดงในตารางที่ ๒

ตารางที่ ๒. คุณค่าทางโภชนาการในแง่พลังงาน และสารอาหารรองอื่นๆ ของดอกชมจันทร์ ๑๐๐ กรัม

รายการ    ผลการวิเคราะห์        รายการ    ผลการวิเคราะห์
พลังงาน (กิโลแคลอรี)    ๓๔.๙๖    วิตามินบี ๑ (มิลลิกรัม)    ๐.๐๔
แคลเซียม (มิลลิกรัม)    ๒๒.๗๘    วิตามินบี ๒ (มิลลิกรัม)    ๐.๐๕
ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม)    ๓๘.๔๒    วิตามินบี ๓ (มิลลิกรัม)    ๑.๒๕
เหล็ก (มิลลิกรัม)    < ๐.๐๕    วิตามินซี (มิลลิกรัม)    <๐.๙๐   
วิตามินเอ (g)    ๑๓๖.๑๑    โคเอนไซม์คิว (มิลลิกรัม)    <๐.๒๘

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้วิเคราะห์ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ พบว่าน้ำที่คั้นได้จากดอกชมจันทร์มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในหลอด ทดลอง โดยสามารถทำปฏิกิริยายับยั้งอนุมูล DPPH (1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl) และอนุมูลไฮดรอกซิล (hydroxyl radical)

นอกจากนี้ ยังได้วิเคราะห์หาปริมาณของสารที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการต้านอนุมูล อิสระ ซึ่งได้แก่ ปริมาณฟีโนลิกทั้งหมด และปริมาณวิตามินซีของดอกชมจันทร์ ซึ่งมีค่าเท่ากับ ๐.๓๒ มิลลิกรัม Gallic acid equivalent/๑๐๐ กรัม และ ๐.๙๘ มิลลิกรัม/@๑๐๐ กรัม ตามลำดับ  

เนื่องจากมีคนกินดอกชมจันทร์แล้วมีอาการขับถ่ายง่ายคล้ายกับท้องเสีย จึงทำให้บางคนยังมีความวิตกกังวลว่า ดอกชมจันทร์นั้นปลอดภัยต่อการกินหรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาเรื่องการขับถ่ายนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับดอกชมจันทร์โดย เฉพาะเท่านั้น เช่น มีผู้ที่มีอาการถ่ายง่ายคล้ายท้องเสียเมื่อกินผักตำลึง ดังนั้น จึงไม่อาจด่วนสรุปว่าดอกชมจันทร์เป็นสาเหตุทำให้ท้องเสีย ทั้งนี้คงต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากคุณค่าทางโภชนาการของดอกชมจันทร์แล้ว ก็ไม่ได้มีสารอาหารใดโดดเด่นเป็นพิเศษ แต่ก็เป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะสามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้ และสามารถนำมากินได้ และยังจัดว่าเป็นผักปลอดสารพิษ เพราะไม่ค่อยมีแมลงศัตรูพืชมารบกวน จึงไม่ต้องฉีดสารกำจัดแมลง

ที่มา : หมอชาวบ้าน

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

"ย่านาง" อัสจรรย์แห่งการป้องกัน และบำบัดโรค

ในบรรดาผู้รักสุขภาพทั้งหลาย เชื่อแน่ว่าไม่มีใครไม่รู้จัก "ย่านาง" พืชที่ได้รับการขนานนามว่า "หมื่นปีไม่แก่" ซึ่งเป็นพืชที่เรียกว่ากระแสแรงมากในขณะนี้ ในแง่ของการดูแลสุขภาพ และบำบัดโรค พบความอัสจรรย์ของ " ย่านาง" จากบทความนี้


ย่านาง หรือ Tiliacora triandra Diels  อยู่ในวงศ์ Menispermaceae
ย่านางมีถิ่นกำเนิดในตอนกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พืชวงศ์ย่านางนี้มีราว 70  ตระกูล ส่วนใหญ่เป็นไม้เลื้อยในป่าเขตร้อนและในป่าไม้ผลัดใบในทวีปเอเชียและอเมริกาเหนือ ย่านางพบขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และป่าโปร่ง ในทุกภาคของประเทศไทย
ภาคกลางเรียก เถาย่านาง เถาหญ้านาง เถาวัลย์เขียว หญ้าภคินี
เชียงใหม่เรียก จ้อยนาง จอยนาง ผักจอยนาง
ภาคใต้เรียก ย่านนาง ยานนาง ขันยอ ยาดนาง วันยอ
ภาคอีสานเรียก ย่านาง


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ย่านางเป็นไม้เลื้อย เป็นเถากลมขนาดเล็กเหนียวมีสีเขียว เถาอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เถาแก่ผิวเรียบมีสีเข้ม มีข้อห่างๆ รากมีขนาดใหญ่มีหัวใต้ดินใบเป็นใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบสลับ ใบคล้ายรูปไข่ หรือรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5-10 เซนติเมตร กว้าง 2-4 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวเข้ม หน้าและหลังใบเป็นมัน
ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและตามลำต้น ช่อหนึ่งมี 3-5 ดอก ยาว 2-5 เซนติเมตร ต้นเพศผู้จะมีดอกสีน้ำตาล อับเรณูสีเหลืองอ่อน ดอกย่อยของต้นเพศผู้จะมีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกมีขนสั้นๆ ละเอียด ปกคลุมหนาแน่น ดอกเพศเมียมีขนาดเล็กมาก ขนาดโตกว่าเมล็ดงาเล็กน้อย สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองแกมเขียวผลเป็นรูปไข่มีขนาดเล็ก เมื่ออ่อนมีสีเขียว สุกจะมีสีแสดถึงแดง กว้าง 6-7  มิลลิเมตร ยาว 7-10 มิลลิเมตร เมล็ดแข็งรูปเกือกม้า ย่านางเป็นพืชที่ขึ้นในดินทุกชนิด และปลูกได้ทุกฤดู ขยายพันธุ์โดยการใช้หัวใต้ดิน เถาแก่ที่ติดหัว ปักชำยอด หรือการเพาะเมล็ด เป็นไม้ที่ปลูกง่ายโดยปลูกเป็นหลุมหรือยกร่องก็ได้


ใบย่านาง  100 กรัมให้คุณค่าโภชนาการดังนี้
พลังงาน                       95                        กิโลแคลอรี
เส้นใย                          7.9                        กรัม
แคลเซียม                   155                        มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส                    11                         มิลลิกรัม
เหล็ก                            7.0                         มิลลิกรัม
วิตามินเอ              30,625                         หน่วยสากล
วิตามินบี 1                0.03                         มิลลิกรัม
วิตามินบี 2                0.36                         มิลลิกรัม
ไนอาซิน                     1.4                          มิลลิกรัม
วิตามินซี                    141                         มิลลิกรัม
โปรตีน                       15.5                         เปอร์เซ็นต์
ฟอสฟอรัส                 0.24                         เปอร์เซ็นต์
โพแทสเซียม             1.29                         เปอร์เซ็นต์
แคลเซียม                  1.42                         เปอร์เซ็นต์
(ข้อมูลจาก สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล)


ย่านางใช้เป็นอาหาร

ย่านาง เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นอาหารและเป็นยามาแต่โบราณ ย่านางมีชื่อทางยาในภาคอีสานว่า "หมื่นปี บ่ เฒ่า" แปลเป็นภาษาภาคกลางว่า "หมื่นปีไม่แก่" ใบย่านาง เก็บบริโภคได้ตลอดปี ยอดอ่อนแตกใบมากในฤดูฝน ยอดอ่อนของเถาย่านางใช้กินแกล้มแนมกับอาหารเผ็ด ชาวไทยอีสานและชาวลาวใช้ใบย่านางคั้นเอาน้ำปรุงอาหารต่างๆ ทำให้น้ำซุปข้นขึ้น เช่น แกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ ย่านางสามารถลดฤทธิ์กรดยูริกในหน่อไม้ได้ ลดความขมของหน่อไม้ และเพิ่มคลอโรฟิลล์และบีตาแคโรทีนให้กับอาหารดังกล่าว นอกจากนี้ยังใส่น้ำคั้นใบย่านางในแกงเห็ด ต้มเปรอะ แกงขี้เหล็ก แกงขนุน แกงผักอีลอก แกงยอดหวาย แกงอีลอก นำไปอ่อมและหมก


ข้อควรระวังคือ ต้องทำให้สุก หรือขยี้ใบย่านางสดกับหมาน้อย กินถอนพิษร้อนต่างๆ ชาวกัมพูชาใส่ใบย่านางในแกงต่างๆ ชาวใต้ใช้ยอด ใบเพสลาด (หมายถึงใบที่ไม่อ่อน ไม่แก่เกินไป) นำไปแกงเลียง แกงหวาน แกงขี้เหล็ก น้ำคั้นจากใบช่วยลดความขมของใบขี้เหล็กได้ นอกจากนี้ยังนำไปผัด แกงกะทิ และหั่นซอยกินกับข้าวยำได้อีก ผลสุกใช้กินเล่น ส่วนชาวเหนือใช้ยอดย่านางอ่อนนำมาลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก ใบแก่คั้นน้ำนำมาใส่แกงพื้นเมือง เช่น แกงหน่อไม้ แกงแค

ประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ น้ำสีเขียวจากใบย่านางใช้ย้อมผ้าได้ ใบใช้เป็นอาหารสัตว์กินพืช เช่น วัว ควาย ส่วนเถามีความเหนียวใช้มัดสัมภาระได้ น้ำตาลไซโลสเป็นองค์ประกอบหลักของสารเหนียวจากน้ำตาลโพลีแซ็กคาไรด์ของใบย่านาง สกัดได้ด้วยน้ำอุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียสที่ต้มเป็นเวลานาน สารเหนียวที่ได้มีคุณสมบัติคล้ายไซแลนที่ได้จากสาหร่ายทะเล น้ำตาลโพลีแซ็กคาไรด์นี้เองที่เป็นตัวเพิ่มความหนืดให้แก่อาหารที่ใส่ใบย่านางต้ม


สรรพคุณทางยาดั้งเดิม

จากการค้นคว้ายังไม่พบว่าประเทศใดใช้ใบย่านางหลากหลายเท่ากับประเทศไทย ใบย่านาง มีรสจืดขม กินได้ ใช้ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ ตัวร้อน แก้ไข้รากสาด ไข้พิษ ไข้หัว ไข้กลับซ้ำ ใช้เข้ายาเขียว ทำยาพอก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง กวาดคอ แก้ไข้ฝีดาษ ไข้ดำแดงเถา ราก มีรสจืดขม กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ ปรุงยาแก้ไข้รากสาด ไข้กลับ ไข้พิษ ไข้ผิดสำแดง ไข้เหนือ ไข้หัวจำพวกเหือดหัด สุกใส ฝีดาษ ไข้กาฬ กินแก้พิษเมาเบื่อ แก้เมาสุรา แก้พิษภายในให้ตกสิ้น บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้โรคหัวใจบวม ถอนพิษผิดสำแดง แก้อาการท้องผูก แก้กำเดา แก้ลม

ภาคอีสานใช้รากต้มเป็นยาแก้อีสุกอีใส ตุ่มผื่น และใช้รากย่านางผสมรากหมาน้อย ต้มแก้ไข้มาลาเรีย รากย่านางเป็นส่วนประกอบสำคัญของยาเบญจโลกวิเชียร ยาดังกล่าวเป็นยาแก้ไข้ใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในขณะเริ่มเป็นได้ ย่านางทั้งต้น ปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ แก้ป่วง (ปวดท้องเพราะกินอาหารผิดสำแดง) ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ และถอนพิษเบื่อเมาในอาหาร เช่น เห็ด กลอย โดยใช้รากย่านางต้นและใบ1 กำมือ ตำผสมกับข้าวสาร (ข้าวเจ้า) 1 หยิบมือ เติมน้ำ 1 แก้ว ขยำคั้นให้น้ำออกมา กรองด้วยผ้าขาวบาง เติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อยพอดื่มง่าย ดื่มให้หมดทั้งแก้วทำให้อาเจียนออกมา จะช่วยให้ดีขึ้น อย่าเอาไปปั่นเพราะย่านางเป็นยาเย็น ความร้อนจากรอบหมุนเร็วของเครื่องปั่นจะทำให้ฤทธิ์ชีวภาพของใบย่านางสูญหายไป


ย่านางมากคุณค่า


ใบย่านางมีรสจืด คุณค่าทางโภชนาการพบว่า ปริมาณสารสำคัญที่มีมากและโดดเด่นในใบย่านางคือ เส้นใยอาหาร แคลเซียม เหล็ก บีตาแคโรทีน และวิตามินเอ


การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผักพื้นบ้านไทย จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ ผักกูด ผักติ้ว ผักปลังขาว ย่านาง ผักเหมียง และผักหวานบ้าน โดยการสกัดสารสำคัญด้วยแอลกอฮอล์จากผักแต่ละชนิด ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากผักทั้ง 6 ชนิดเปรียบเทียบกับตัวควบคุม วิตามินซี และวิตามินอี สารสกัดจากย่านางส่วนที่ละลายน้ำและส่วนที่ไม่ละลายน้ำให้ค่า IC50 499.24 และ 772.63 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ เมื่อเทียบกับค่าที่ได้จากวิตามินซี และวิตามินอีที่ IC50 9.34 และ 15.91 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ
สารสกัดใบย่านางมีสารฟีนอลิกเป็นสารสำคัญ งานวิจัยจากต่างประเทศพบว่า สารฟีนอลิกหลักในใบย่านางคือ กรดพาราไฮดรอกซีเบนโซอิก (p-hydroxy benzoic acid) มิเนโคไซด์ (minecoside) สารกลุ่มฟลาโวนไกลโคไซด์ อนุพันธ์กรดซินนามิก (flavones glycoside cinnamic acid derivative) และโมโนอีพอกซีบีตาแคโรทีน (monoepoxy-betacarotene)


ข้อมูลโภชนาการกล่าวว่า ใบย่านางมีปริมาณธาตุเหล็กสูง ธาตุเหล็กในอาหารแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือเหล็กที่อยู่ในรูปของฮีมพบในเนื้อสัตว์ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมได้ดี และเหล็กที่ไม่ได้อยู่ในรูปของฮีม พบในธัญพืช ผัก ผลไม้ ร่างกายดูดซึมได้ไม่ดี การดูดซึมเหล็กที่ไม่ได้อยู่ในรูปของฮีมขึ้นกับสารอื่นในอาหาร ได้แก่ วิตามินซี ซึ่งช่วยเพิ่มการดูดซึมเหล็ก ส่วนไฟเทตและเส้นใยอาหาร มีผลยับยั้งการดูดซึมเหล็ก งานวิจัยในประเทศไทยเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณ เหล็ก วิตามินซี ไฟเทต เส้นใยอาหาร และชีวปริมาณออกฤทธิ์ของเหล็กในผักพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าใบย่านางมีปริมาณวิตามินซีสูงที่สุด และมีเส้นใยอาหาร ที่  6.56 กรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเหล็ก วิตามินซี ไฟเทต และเส้นใยอาหาร พบว่าปริมาณวิตามินซีมีความสัมพันธ์กับปริมาณเส้นใยอาหารในทางบวก ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 ทำให้เห็นว่าใบย่านางเป็นแหล่งธาตุเหล็กที่สามารถดูดซึมได้ดีโดยร่างกาย เพราะมีวิตามินซีปริมาณสูง ช่วยการดูดซึมธาตุเหล็กดังกล่าว

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งในประเทศไทยตรวจสอบฤทธิ์ระงับปวดและฤทธิ์ต้านการอักเสบของพืชผักพื้นบ้านอีสาน 10 ชนิด การตรวจหาฤทธิ์ระงับปวดโดยใช้ writhing test และ tail flick test สำหรับการตรวจฤทธิ์ต้านอักเสบ ใช้ rat hind paw edema model ผลการทดสอบใช้สารสกัดพืชผักพื้นบ้านด้วยน้ำ ขนาด 1 กรัมต่อน้ำหนักตัวของหนูเพศผู้ 1 กิโลกรัม พบว่าสารสกัดจาก ใบตำลึง ใบย่านาง ผักติ้วแดง ผักกาดฮีน มะระขี้นก ผักชะพลู และผักชีลาว มีผลลดการเกิด writhing ในหนูร้อยละ 35-64 (p<0.05)


การทดสอบฤทธิ์ระงับปวดด้วย tail flick test พบว่าสารสกัดจากใบตำลึงและใบย่านางมีฤทธิ์ระงับปวด จากนั้นคัดเลือกสารสกัดที่มีฤทธิ์มากที่สุด 4 ชนิด ได้แก่ ใบตำลึง ใบย่านาง ผักติ้วแดง และผักกาดฮีนมาทำการทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยใช้คาราจีแนนเป็นสารระตุ้น  พบว่าสารสกัดทั้ง 4 ชนิดไม่มีฤทธิ์ต้านอักเสบในสัตว์ทการทดสอบฤทธิ์ระงับปวดด้วย tail flick test พบว่าสารสกัดจากใบตำลึงและใบย่านางมีฤทธิ์ระงับปวด จากนั้นคัดเลือกสารสกัดดลอง ผู้วิจัยเชื่อว่าสารสกัดจากใบตำลึงและใบย่านางอาจจะออกฤทธิ์ระงับปวดต่อระบบประสาท
ส่วนงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลในห้องทดลองขั้นต้นพบว่า สารสกัดใบย่านางมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของรีเซ็ปเตอร์ที่ขนคอเลสเตอรอลเข้าสู่ตับ แต่ไม่ทราบว่าจะมีผลลดคอเลสเตอรอลในเลือดของระบบร่างกายหรือไม่ การค้นพบนี้อาจเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของย่านางที่ใช้รักษาโรคหัวใจมาแต่โบราณได้ หากแต่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

งานวิจัยทางเคมีพบว่า รากย่านางมีอัลคาลอยด์หลายชนิด ได้แก่ Tiliacorine, Tiliacorinine
Nortiliacorinine A, Tiliacotinine 2-N-oxide, Tiliandrine, Tetraandrine, และ D-isochondendrine การทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่าสารสกัดจากรากย่านางมีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียฟัลซิพารัมในหลอดทดลอง สารที่มีฤทธิ์ดังกล่าวคือ Tiliacorine และ Tiliacorinine


กระแสน้ำย่านาง


ปัจจุบันมีกระแสการบริโภคน้ำย่านางคั้นบีบเย็น กล่าวกันว่ารักษาโรคได้มากมาย เช่น ลดน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง อาการตกเลือดในมดลูก โรคเกาต์ โรคเชื้อราทำลายเล็บ อาการริดสีดวงทวาร หรือเป็นผื่นคัน กล่าวกันว่าโรคเหล่านี้เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน เชื่อกันว่ายังสามารถใช้น้ำย่านางมาสระผม ช่วยให้ศีรษะเย็น ผมดกดำหรือชะลอผมหงอก ผสมดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากให้เหลวพอประมาณ ทาสิว ฝ้า ตุ่ม ผื่นคัน พอกฝีหนองลดอาการผื่นคันได้อีกด้วย

ย่านางเป็นยาเย็น ในปริมาณที่มีผู้ดื่มรักษาโรคเป็นปริมาณสารสกัดน้ำที่ไม่เข้มข้นมากนัก คล้ายการดื่มน้ำใบเตยเพื่อความชื่นใจดับกระหาย แต่ไม่มีรายงานการวิจัยทั้งในและต่างประเทศสนับสนุนการใช้งานดังกล่าว เพราะประเทศตะวันตกไม่มีต้นย่านางให้ศึกษา การศึกษาพิษวิทยาในประเทศไทยพบว่า ระยะสั้นสารสกัดใบย่านางไม่มีพิษต่อหนูทดลอง คิดว่าดื่มเครื่องดื่มธรรมชาติไร้น้ำตาลเป็นทางเลือกใหม่ได้เลย ถ้าสุขภาพดีขึ้นหายจากโรคภัยไข้เจ็บด้วยก็เป็นของแถมที่มีค่ายิ่ง


สูตรน้ำใบย่านางที่นำเสนอนี้ได้ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลด้วย : 

สูตรน้ำใบย่านาง

1.ใบย่านางประมาณ 20 ใบ
2.น้ำต้มสุก (ไม่ร้อนละดอกอ) 3 แก้ว (600 มิลลิลิตร)
3.นำใบย่านางสดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือขยี้ใบย่านางกับน้ำ กรองผ่านกระชอนเอาแต่น้ำสีเขียว ดื่มครั้งละ 1/2 ถึง 1 แก้ว วันละ 2-3 เวลาก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง เนื่องจากใบย่านางมีกลิ่นเหม็นเขียวจึงอาจใส่ใบเตยหอม 3 ใบใบบัวบก 1 กำและดอกอัญชัญ  10 ดอกลงไปด้วยเพื่อแต่งรสและกลิ่น ถ้าแช่ในตู้เย็นควรดื่มภายใน 3-7 วัน
                                                



ขอขอบคุณ : นิตยสารหมอชาวบ้าน

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

น้ำสะอาด คือ อาหารอันวิเศษ

ประโยชน์สุขจากการดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
“ดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ” ร่างกายของคนเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ถึง 75% ของน้ำหนักตัว เราอาจจะอดอาหารได้เป็นเดือน ๆ แต่ร่างกายไม่สามารถขาดน้ำได้เกินกว่า 3 -7 วัน การดื่มน้ำอย่างถูกต้อง จะช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดี หัวใจทำงานปกติ และมีประสิทธิภาพแข็งแรงขึ้น ขณะเดียวกันการขับถ่ายของเสียก็ทำงานได้ดี ที่สำคัญยังช่วยให้ใบหน้าชุ่มชื่น มีเลือดฝาด และไม่ปวดหลังหรือบั้นเอว เพราะสุขภาพไตแข็งแรง การดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว จะช่วยทำให้ปริมาณไขมันในร่างกายลดลง อาจเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่น้ำจะเป็นสิ่งสำคัญที่มีส่วนช่วยในการดูแลรูป ลักษณ์ แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะต้องดื่มน้ำเพราะความจำเป็น แต่ในความเป็นจริงน้ำเป็น "อาหารอันวิเศษ " ที่ช่วยในการดูแลรูปลักษณ์อย่างถาวร

น้ำที่ควรดื่ม 

ควรเป็นน้ำธรรมดาไม่เป็นน้ำที่ร้อนมากหรือที่เย็นจัด แต่ถ้าเป็นน้ำอุ่นๆ เล็กน้อย ก็ควรดื่มในตอนเช้าเพราะจะให้การขับถ่ายดีขึ้น ลำไส้สะอาด

ระยะเวลาที่ดื่มน้ำ ใน 1 วัน อาจจะเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับตัวเอง
ตื่นนอนตอนเช้า ดื่มน้ำ 1 แก้ว
ตอนสาย ดื่มน้ำ 2 แก้ว (เวลาประมาณ 9.00 – 10.00 น)
ตอนบ่าย ดื่มน้ำ 3 แก้ว (เวลาประมาณ 13.00 – 16.00 น)
ตอนเย็น ดื่มน้ำ 3 แก้ว (เวลาประมาร 19.00 – 20.00 น)
ก่อนเข้านอน ดื่มน้ำ 1 แก้ว เพื่อให้น้ำที่ดื่มไหลเวียนชะล้างสิ่งตกค้างในลำไส้และกระเพาะอาหาร ถ้าเป็นน้ำอุ่นจะช่วยให้หลับสบายดีขึ้น รวมแล้วให้สามารถดื่มน้ำเปล่าได้วันละ 10 แก้ว นอกเหนือจากนั้น ท่านสามารถดื่มน้ำนม น้ำผลไม้, ฯลฯ ได้อีกไม่จำกัด

เคล็ดลับการดื่มน้ำแบบง่ายๆที่ท่านสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ตามขั้นตอนดังนี้  

ขั้นตอนที่ 1. ดื่มน้ำให้เพียงพอกับน้ำหนักตัว
ร่างกายคนเรานั้นต้องประกอบด้วยน้ำ 60-70% เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวเรา ตามสูตรที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดเอาไว้ คนเราในแต่ละวันต้องดื่มน้ำให้ได้ปริมาณที่เหมาะสมกับน้ำหนักของตัวเอง วิธีคำนวณก็คือ 



เท่ากับว่าถ้าท่านหนัก 60 กิโลกรัม ต้องดื่มน้ำให้ให้ประมาณ 1.9 ลิตรต่อวัน หรือ เกือบ 10 แก้วนั่นเอง

ขั้นตอนที่ 2. ดื่มน้ำตอนเช้าหลังตื่นนอน
ตื่นนอนตอนเช้า ก่อนแปรงฟัน ให้ดื่มน้ำ 4 แก้ว ( 640 ซีซี )ดื่มน้ำอุ่นๆได้ยิ่งดี เพราะน้ำอุ่นนั้นดื่มง่ายกว่าน้ำธรรมดา และอุณหภูมิของน้ำที่ดื่มไม่ต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกาย ไม่เป็นการไปดึงอุณหภูมิของร่างกายให้เย็นลง เพราะน้ำลายบูดที่สะสมมาตั้งแต่ขณะนอนหลับ มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ สามารถฆ่าจุลินทรีย์พิษในทางเดินอาหาร และช่วยในการขับถ่ายให้เป็นปกติ

ขั้นตอนที่ 3.ดื่มน้ำให้ถูกเวลา
ควรดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหาร 45 นาที หลังจากนั้นจึงรับประทานอาหารได้ตามปกติ เมื่อรับประทานอาหารแล้วไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอะไร จนกว่า 2 ชั่วโมงผ่านไป เพราะการดื่มน้ำมากระหว่างรับประทานอาหารจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะเจือจางการ ย่อยเป็นไปได้ไม่ดี

ขั้นตอนที่ 4.ดื่มน้ำระหว่างวัน
10.00น. 14.00น. 16.00น.

ขั้นตอนที่ 5.ดื่มน้ำก่อนนอน
ดื่มน้ำอุ่นๆ 1 แก้ว

ขั้นตอนที่ 6.หลีกเลี่ยงน้ำเย็น น้ำอัดลม
อุณหภูมิโดยปกติของร่างกายคนเรานั้นอยู่ที่ 36-37 องศาเซลเซียส ถ้าเราดื่มน้ำเย็นๆ สัก 2 องศาเซลเซียส น้ำเย็นจะต้องไปดึงความร้อนของร่างกายมาทำให้อุณหภูมิของน้ำเท่ากับร่างกาย การดูดซึมจึงจะทำงานได้ ทำให้ร่างกายสูญเสียพลังงานและเสียเวลาในการปรับสมดุลให้คืนสู่ปกติ

ข้อควรจำ

• ไม่จำเป็นต้องดื่มครั้งละ 2 – 3 แก้วติดต่อกันทันที ดื่มตามปรกติสบายๆ ผู้ที่ทำตามครั้งแรก ๆ อาจรู้สึกคลื่นไส้เล็กน้อย เป็นอาการปรกติธรรมดา ทั้งนี้เพราะผนังลำไส้ และกระเพาะอาหารขยายตัวขึ้น หากทำติดต่อกันเป็นประจำก็จะไม่มีอาการอีก

• ระยะแรก จะเกิดการปัสสาวะบ่อย ครั้งแรกๆ จะมีสีเหลืองข้นขุ่นกลิ่นฉุน เนื่องจากน้ำที่ดื่มไปชะล้างไตให้สะอาด

• อย่าดื่มน้ำมากก่อนหน้าที่จะรับประทานอาหาร ( ควรงดดื่มน้ำมากสักครึ่งชั่วโมงก่อนรับประทานอาหาร) และหลังจากรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ ก็ไม่ควรดื่มน้ำมากๆ ทันที ในระหว่างการรับประทานอาหารไม่ควรดื่มน้ำตลอดเวลา เพราะการดื่มน้ำมากในระหว่างรับประทานอาหารจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เจือจาง การย่อยเป็นไปได้ไม่ดี

• การทานอาหารในแต่ละมื้อไม่ควร อิ่มจนแน่นท้องเกินไปควรให้อิ่มพอดีแล้วรับประทานผลไม้สดจะทำให้สะอาดคอ แล้วจิบน้ำตามนิดหน่อยท่านจะรู้สึกสบายท้องหลังจากนั้นสักครึ่งชั่วโมง จึงดื่มน้ำตามปกติ